Format SSD ยังไง

ควรฟอร์แมต SSD เมื่อไร หากคุณเพิ่งซื้อ SSD คุณอาจต้องฟอร์แมตไดรฟ์เพื่อให้สามารถใช้กับระบบปฏิบัติการได้ เมื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการ จะมีตัวเลือกให้เลือกไดรฟ์ใหม่และฟอร์แมต หากคุณวางแผนที่จะใช้ SSD ที่มีอยู่ซ้ำ อย่าลืมฟอร์แมตไดรฟ์ก่อนติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ การล้างพาร์ติชันไดรฟ์จะลบข้อมูล ดังนั้นอย่าลืมสำรองเนื้อหาในไดรฟ์ของคุณก่อนดำเนินการต่อ ตัวเลือกระบบไฟล์ ที่สำคัญคือต้องเลือกรูปแบบไฟล์ที่เข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการของคุณ ระบบไฟล์ที่ใช้บ่อยมากที่สุดคือ: FAT32: เป็นตัวเลือกที่นิยมใช้ทั่วไปเพราะเข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการ Mac®, Windows® และ Linux® รวมทั้งคอนโซลเกมและอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีพอร์ต USB อย่างไรก็ตาม ข้อเสียเปรียบหลักคือไม่ปลอดภัยและจำกัดไฟล์ไว้ที่ขนาด 4GB exFAT: เป็นตัวเลือกทั่วไปที่ไม่จำกัดขนาดไฟล์ที่ 4GB และเข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการ Windows และ Mac ส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าๆ อาจต้องมีการอัปเดตเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถอ่านและเขียนข้อมูลไปยังไดรฟ์ด้วยระบบไฟล์ exFAT ได้อย่างเหมาะสม NTFS: เป็นฟอร์แมตที่ใช้โดยค่าเริ่มต้นระหว่างการติดตั้ง Microsoft Windows มีขนาดไฟล์สูงสุดที่ใหญ่กว่ามากแต่จะเป็นแบบอ่านอย่างเดียวสำหรับ MacOS® (ยกเว้นหากคุณติดตั้งยูทิลิตี้อ่าน/เขียน NTFS จากภายนอก) APFS: โซลูชันดั้งเดิมสำหรับผู้ใช้ Mac ที่เริ่มต้นด้วย MacOS 10.13 ใช้ตัวเลือกนี้ก็ต่อเมื่อจะใช้ไดรฟ์กับ MacOS เท่านั้น…

จะทำการฟอร์แมตเป็นรูปแบบไหนดี .. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบไฟล์ข้อมูล

ระบบปฏิบัติการใช้โครงสร้างอย่างระบบไฟล์เพื่อกำหนดโครงสร้างและจัดการไฟล์ข้อมูลในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดไดรฟ์ SSD หรือ แฟลชไดรฟ์ USB โดยเป็นการระบุวิธีการที่ใช้จัดเก็บ สืบค้นและจัดเรียงข้อมูลในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ระบบไฟล์ข้อมูลที่แตกต่างกันก็มีลักษณะที่แตกต่างกันไปและมักจะใช้กับระบบปฏิบัติการหรืออุปกรณ์บางรายการเท่านั้น ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างระบบไฟล์ข้อมูลที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งข้อดีและข้อเสียที่มี FAT (File Allocation Table), FAT16, FAT32 FAT เป็นหนึ่งในระบบไฟล์ข้อมูลที่เก่าแก่และเรียบง่ายที่สุด โดยแต่เดิมพัฒนาขึ้นสำหรับ MS-DOS และยังคงใช้กับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบถอดแยกได้หลายรุ่น เวอร์ชั่นหลัก ๆ ที่แพร่หลายของระบบนี้คือ FAT16 และ FAT32 FAT จะใช้ตารางการจัดสรรไฟล์ข้อมูลเพื่อติดตามตำแหน่งของไฟล์ในดิสก์ อย่างไรก็ตามระบบนี้ไม่มีระบบการทำงานขั้นสูงอย่างการกำหนดสิทธิ์อนุญาตเรียกค้นไฟล์และการบันทึกการทำรายการ ทำให้เหมาะกับระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ น้อยกว่า FAT 16 เปิดตัวในปี 1987 พร้อมกับ DOS 3.31 ในขณะที่ FAT32 เปิดตัวพร้อมกับ Windows 95 OSR2(MS-DOS7.1) ในปี 1996 ข้อดี: ความเรียบง่าย: ความเรียบง่ายในการทำงานทำให้สะดวกในการใช้และเหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่มีทรัพยากรจำกัดหรือมีเงื่อนไขจำกัดด้านการรองรับการทำงาน การกู้ข้อมูล: เนื่องจากโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน ระบบ FAT…